Yamaha YZF-R3 ถอดรหัสความแรงตัวแข่ง… เผยเทคนิคโมฯสายแชมป์ (ภาคต่อ)!!

ต่อกันด้วยข้อมูลเทคนิคของรถแข่งจริง บนสนามจริง ที่วันนี้จะเปิดเผยกันให้รู้ว่าสูตรไม่ลับของ YAMAHA YZF-R3 เบอร์ 999 คันแรงจะโมฯ กันมาอย่างไร โดยเริ่มกันที่ของสำคัญก่อนนั้นก็คือการใช้กล่องควบคุม Ecu aRacer Super RC2 Tune by Jurd_TYM จากนั้นจึงจัดเอาแคมชาร์ฟที่สร้างใหม่ทั้งตัว ผ่านการคำนวณโดยทีม Yamalube และปรับตั้ง ไอดี เปิด-ปิด 270 องศา และไอเสียเปิด-ปิด 270 องศา ส่วนท่อไอเสียใช้คอท่อเป็นไทเทเนี่ยม SAKURA จากร้าน ช.เจริญยนต์ NJT สวมท้ายด้วยปลายท่อ M-TECH วกกลับมาที่ฝาสูบกับ ซึ่งก็ได้จัดการแต่งโดยการขยายพอร์ทไอดีเพิ่ม 6 มม. และไอเสีย 4 มม. แต่ไม่มีการปาดฝาสูบแต่อย่างใด ใส่ปะเก็นฝาสูบใช่ 1แผ่น ส่วนประเก็นเสื้อสูบนั้นเดิมๆ ส่วนข้อเหวี่ยง ลูกสูบ เสื้อสูบ ก้านสูบ วาล์ว คลัทช์ เกียร์ นั้นล้วนเดิมๆ ทั้งสิ้นครับ จะมีเสริมก็ที่สปริงวาล์วโดยใช้ของแต่งจาก NISMO จากนั้นจึงทำการติดตั้ง Ram Air  ส่วนปากแตรลิ้นเร่งเราเปลี่ยนเป็นยางหล่อขึ้นรูปทรงสั้น 2 นิ้ว และใส่หม้อน้ำจอโค้ง แบบรังผึ้งละเอียดด้วยครับ ทีนี้มาถึงงานละเอียดกันบ้าง… เป็นเรื่องจูนอัพครับ จูนน้ำมันและองศาจุดระเบิดในช่วง 60-100% ของคันเร่งให้  AF ไม่สูงกว่า13.5 และไม่ต่ำกว่า 12.8 องศาไฟจุดระเบิดของ ecu aRacer ไม่ควรเกิน 40 องศา ส่วนน้ำมันเชื้อเพลิงใช้เบนชิน 95 ครับ

ตบท้ายกันด้วยเรื่องของสูตร! อีกหน่อยนะครับ คืออยากให้อ่านกันเพื่อจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ คือจะขอพูดถึง “สูตรเด็ด!!! เคล็ดลับเพิ่มแรงม้า” พอเห็นขึ้นหัวว่า “สูตรเพิ่มแรงม้า” หลายท่านอาจสงสัยว่ามันเป็นสูตรอะไรหนอ ก็ต้องบอกกันก่อนว่ามันเป็นสูตรมาตรฐานที่ใช้ในการหากำลังงานของเครื่องยนต์ ซึ่งสูตรนี้มีกันอยู่หลายตัวแปลและสามารถกลับข้างหาค่าตัวแปลนั้นๆ ได้ แต่ในที่นี้เราจะมาตามหาม้า(แรงม้า)กัน โดยเริ่มจากการรู้ความหมาย และวิธีหาค่าตัวแปลกันที่ละตัว โดยเริ่มจากสูตรที่เราจะใช้หากำลังงานของเครื่องยนต์(แรงม้า) นั้นก็คือ

สูตร แรงม้า (HORSE POWER) = PLANK หาร 33000 P                     = แรงระเบิดบนหัวลูกสูบ L                     = ระยะชักของลูกสูบ  (มม.) A                    = ความโตกระบอกสูบ (มม.) N                    = ความเร็วรอบเครื่องยนต์ (รอบ/นาที) K                    = จำนวนลูกสูบ เช่น 1 สูบ, 2 สูบ หรือ 4 สูบ

สูตร แรงม้า (HORSE POWER) นี้เป็นสูตรที่ใช้หาค่าแรงม้าจากเครื่องยนต์เปล่าๆ โดยไม่ได้มีอุปกรณ์ใดๆ ร่วมอยู่ด้วย ดังนั้นแรงม้าที่ได้จึงเป็นแรมม้าเพรียวๆ ที่ได้จากเครื่องยนต์เท่านั้น ยังไม่ได้หักลบกับโหลดต่างๆ ที่มีผลกับเครื่องยนต์ เราจะมาทำความรู้จักกันเป็นรายตัวอักษรเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยจะขออธิบายเพียง 3 ตัวเท่านั้นเพื่อความกระชับของเนื้อหา นั้นคือตัวอักษร  P, L และ A ส่วน N กับ Kขอละไว้ก่อน เพราะความเร็วรอบและจำนวนสูบ เป็นอะไรที่เห็นภาพกันได้ชัดเจนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงขอเน้นไปในส่วนที่น่าสนใจและต้องใช้ความตั้งใจในการทำความเข้าใจพอสมควร

จากสูตรที่กล่าวมาเราจะเห็นว่ากำลังของเครื่องยนต์หรือที่เรียกว่าว่า “แรงม้า” นั้น จะเท่ากับ P.L.A.N.K ซึ่งตัวแปลทุกตัวในสูตรจะต้องมาคูณกันเพื่อที่จะได้ค่าของ “แรงม้า” ออกมา ฉะนั้นถ้าแรงม้าจะเพิ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อค่าของ P, L , A , N , K ตัวใดตัวหนึ่งจะต้องมีค่าเพิ่มขึ้นจากค่าเดิม นั่นก็หมายถึงการทำให้ตัวคูณในสมการเพิ่มขึ้นนั้นเอง เพราะถ้าตัวคูณเพิ่มผลลัพธ์ของตัวเลขที่ได้ก็มากขึ้น ซึ่งตัวเลขนั่นแสดงถึงแรงม้าที่เพิ่มขึ้น เครื่องยนต์ก็แรงขึ้น และคราวนี้… คุณก็สามารถเลือกได้ว่าจะ “โมดิฟาย” อักษรตัวไหนก่อนถึงจะเพิ่มแรงม้าขึ้นมาได้ดังใจคิด 

หากเรียงการโมฯ ตามลำดับ ในลำดับแรกเราก็จะเริ่มโมฯ ตัว P กันก่อน  ซึ่งหากเราลองไปถามเซียนท่านหนึ่งว่าผมจะเพิ่มแรงระเบิดบนหัวลูกสูบอย่างเดียวเนี๊ยทำไงดีครับ ท่านจะบอกได้เลยว่า “ต้องเปลี่ยนจากน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซิน 91-95 ที่เราใช้ๆ กันอยู่ เพราะถ้าจะให้โมฯ ให้จะใช้ ‘ไนโตรมีเทน’ แทนเบนซินธรรมดา” อาจจะงงๆ กันคำตอบนี้แต่ก็ทำให้เรารู้ว่ายังมีขั้นเทพอีก 1 ขั้นแน่นอน และทำให้เรารู้สึกว่าเบนซิน 95 จะเด็กๆ ไปเลยนี่หว่า และเราก็จะเข้าใจว่า อ้อ… แบบนี้นี่เองที่เขาหนีไปใช้ออกเทน 120 สีฟ้าๆ กัน  ซึ่งก็ขอตอบแทนเลยว่าใช้แน่นอนครับ! ตัวอักษรต่อมาเราก็จะมาถึงตัวคูณที่เป็นตัว L เป็นเรื่องต่อไป เพราะมีสินค้าที่เป็นข้อมูล L ออกมาขายกันมาก นักโมฯ นิยมจัดมาเป็นออฟชั่นในการโมฯ เครื่องยนต์กันอย่างแพร่หลาย

L                     =                     ระยะชักของเครื่องยนต์(วัดเป็นมิลลิเมตร)

ตัวที่สร้างให้เกิดการชักเป็นระยะตายตัวในทุกครั้งก็คือ “ข้อเหวี่ยง” ซึ่งที่ตัวข้อเหวี่ยงนี้จะมีค่าความห่างของศูนย์กลางแกนเพลาข้อเหวี่ยง A และระยะห่างของศูนย์กลางสลักข้อเหวี่ยง B ซึ่งระยะ A ถึง B คือ ระยะชักมีทั้งชักขึ้นและชักลง ถ้าวัดค่า A ถึง B ได้ 25 มม. นั่นก็คือระยะชักเท่ากับ 25+25 = 50 มม. นั่นเอง เพราะมันทั้งขึ้นทั้งลงรวมกัน ฉะนั้นในเครื่องยนต์ที่ยกตัวอย่างนี้จะมีค่า L= 50 มม. คราวนี้เราก็จะมาโมฯ ค่า L กันล่ะ สมมุติว่าผมเป็นช่าง ผมก็ต้องทำให้ค่า L มากขึ้นให้ได้ เพราะในสูตรบอกไว้ว่า หากค่า P.L.A.N.K ตัวใดตัวหนึ่งเพิ่มขึ้น แรงม้าก็จะเพิ่มขึ้น การบ้านก็คือจะ
ทำอย่างไรให้ระยะชัก 50 มม. มากขึ้น เป็น 51 , 52 , 53 ได้หนอ คำตอบที่ได้ก็คือมีอยู่ 2 วิธี ที่ทั่วไปนิยมทำกันอยู่ในตอนนี้

1.ย้ายรูสลัก B มันเลย โดยให้ขยับขึ้นไปอีก 1 มม. ให้ระยะ A ถึง B เป็น 26 มม. ก็จะได้ 26+26 = 52 ม.ม แล้ว วิธีนี้ทำกันมานานพอสมควรแล้ว แต่เมื่อก่อนนี้เป็นข้อมูลความลับระดับสุดยอด เรียกว่าเป็นสุดยอดเคล็ดวิชากันเลยทีเดียว แต่พอมาถึงยุคสมัยนี้การย้ายรูสลักเป็นข้อมูลที่เปิดเผยกันทั่วไปแล้ว เอาล่ะ… หลังจากย้ายรูสลักกันแล้วลองมาดูว่า L= 50 มม. กลายเป็น L= 52 มม. มันจะมีอะไรดีขึ้นมาบ้าง

– ซีซี.เพิ่มขึ้น ก็คือความจุกระบอกสูบเพิ่มขึ้นทันทีทั้งด้านบนและด้านล่าง – ตัวคูณ L ฝั่ง P.L.A.N.K  เพิ่มขึ้นทำให้ผลคูณของแรงม้าเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

2.วิธีต่อไปคือ “เยื่องศูนย์สลักข้อเหวี่ยง” หรือเรียกว่า “สลักยืด” วิธีที่ 2 นี้จะทำได้ง่ายกว่าวิธีแรก ซึ่งวิธีแรกนั้นทั้งทำยาก และเวลาเสร็จแล้วศูนย์ก็ไม่ค่อยจะได้ด้วย ส่วนมากถ้าจะยืดแค่ 1 – 4 มม. จะนิยมใส่สลักยืดแทน

              ผลของการยืดสลักล่างก็จะทำให้ระยะชัก L เปลี่ยนไปตามที่สลักนั้นเยื้องศูนย์ไปเท่าไรเช่น เยื่องไป 1 มม. ก็จะได้ระยะร่วม(ขึ้น – ลง) 2 มม. ซึ่งวิธีทำจะง่ายกว่าย้ายรูสลัก หรือสมัยนี้มีสลักยืดสำเร็จรูปออกมาขายราคาก็ถูก 400 – 600 บาทเท่านั้น เมื่อ L เปลี่ยนไป แรงม้าก็จะเพิ่มขึ้นเพราะแรงบิดที่ข้อเหวี่ยงจะมากขึ้น ถ้าจะลองเปลี่ยนเทียบตัวอย่างในเรื่องของ L ให้เห็นกันชัดๆ ก็อาจจะเปรียบเทียบกับกระสุนปืนลูกกรด .22  กับลูกปืนแมกนั่ม .22 กระสุนทั้งสองแบบนี้เส้นผ่าศูนย์กลางของหัวกระสุนโตเท่ากันคือ 0.22 นิ้ว ซึ่งเล็กที่สุดแล้วในบรรดาลูกกระสุนแบบดินปืน แต่สำหรับอานุภาพของ .22 แมกนั่มอย่าไปดูถูกมันนะครับ เพราะลูกกระสุนขนาดนี้แหละที่ใช้ลอบสังหารประธานาธิบดีของสหรัฐมาแล้ว แต่ถ้ามือปืนดันใช้ลูกกรด .22 ธรรมดา ป่านนี้ประธานาธิบดีคงยังไม่ตายหรอกครับ เพราะลอบยิงระยะไกลถ้าถูกเป้าหมายก็แค่หัวโนเท่านั้น และส่วนนี้ก็คือความแตกต่างของห้องแก๊สที่ต่างกันนั่นเอง เพราะลูกกระสุน .22 แมกนั่ม ได้เพิ่มดินปืนมากขึ้นกว่า .22 ธรรมดา บางคนอาจถามว่าแล้วถ้าเราเทดินปืนจากลูกแมกนั่มมาใส่ในปลอกของลูกกรดได้ไหม

ตอบได้เลยว่าไม่ได้เพราะไม่มีอากาศพอในการจุดระเบิด ถ้าเทียบกับเครื่องยนต์ก็ส่วนผสมเชื้อเพลิงหนาเกินไปอากาศไม่พอในการลุกไหม้นั่นเอง วิธีที่ถูกคือต้องเพิ่มระยะชักในปลอกกระสุนเพิ่มขึ้น ก็คือการเพิ่ม L ที่เราพูดถึงนั่นแหละครับ แต่ถ้าสมมุติจะเพิ่ม A(ความโตกระบอกสูบ) ก็คือการเปลี่ยนมาใช้ลูก .38 ถ้าเปรียบเทียบกับมอเตอร์ไซค์ก็เรียกว่ายัดลูกโตนั่นแหละ แต่ถ้ายังไม่พอใจก็จัด 11 มม. ไปเลย… โตสุดแล้วคร๊าบบบ

จากอักษร L = ระยะชักของข้อเหวี่ยง ที่ว่ากันไปถึงเรื่องก้านสูบ และการยืดชัก – หดชัก สรุปง่ายๆ ว่าถึงค่าระยะชัก L มากขึ้นนิดเดียวก็ตาม ตัวคูณในสูตรก็จะมากขึ้นทันที มีผลให้แรงม้าจะมากขึ้นไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน (จริงๆ แล้วมหาศาล!) คราวนี้เราก็จะมาพูดกันถึงสูตรตัวต่อไปคือ “ตัว A” 

A มันคือ ความโตกระบอกสูบ หรือความกลมของกระบอกสูบ ไม่ใช่ขนาดของลูกสูบนะครับอย่างเข้าใจผิดกัน และเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบเขาจะวัดกันเป็นมิลลิเมตรเช่น 50 มิลลิเมตร ก็คือ 5 เซนติเมตร เป็นต้น เพราะการวัดด้วยหน่วยมิลลิเมตร จะวัดได้ละเอียดกว่า แต่พอมาคำนวณเป็นค่าความจุของเครื่องยนต์ กลับคิดเป็นซีซี. ซึ่งมันย่อมากจากคำว่า CUBIC CENTEMETER หรือ ตารางเซนติเมตร มีตัวย่อว่า ซม.2 , cm2 = cc นั่นเอง ส่วนการคำนวณหาความจุของมันก็สามารถหาได้จากการเอาพื้นที่ภาคตัดวงกลม(A) คูณกับความสูงหรือระยะชักของลูกสูบ(L)ในกระบอกสูบ

พื้นที่ภาคตัด A คำนวณ ได้จาก สูตร A = 0.785 x (ความโตกระบอกสูบ2 หรือ A = 0.785 x (ความโตกระบอกสูบ x ความโตกระบอกสูบ)

ตัวอย่างเช่น  กระบอกสูบโต 50 มิลลิเมตร(5 เซนติเมตร) ระยะชักของข้อเหวี่ยง หรือลูกสูบเลื่อนขึ้นลงเท่ากับ 49.5 มิลลิเมตร(4.95 เซนติเมตร) เราจะหาค่า A (พื้นที่หน้าตัด) และ ความจุเป็นซีซี. ของเครื่องยนต์

จากสูตร         A = 0.785 x (ความโตกระบอกสูบ x ความโตกระบอกสูบ) A = 0.785 x (5 x 5)    = 19.625 ซม.2

จากนั้นเราจึงนำค่า  A มาคิดหาค่าซีซี. โดยนำค่า  A มาคูณด้วยระยะชัก L จะได้ ความจุกระบอกสูบ          =  A x L

= 19.625 x 4.95 = 97.1437 ซีซี.

ผลที่คำนวณออกมาได้ก็คือ 98 ซีซี. นั่นเอง เราเรียกว่า “เพิ่ม A” หรือศัพท์ง่ายๆ ที่นักโมฯ เขาเรียกกันคือ “ยัดลูกโต” แล้วเหตุผลที่ทำไมถึงยัดลูกโตกัน เรามาดูกันต่อดีกว่าครับ

จากสูตรความจุกระบอกสูบของเครื่องยนต์คือ  A x L แต่เมื่อ A มันเพิ่มขึ้นมา จึงต้องมาหาค่า A กันใหม่จะได้    A                     = 0.785 x ความโตกระบอกสูบ x ความโตกระบอกสูบ  A = 0.785 X (5.5 X5.5) A                    =  23.746 ซม2

ความจุกระบอกสูบ        = 23.746 x L               . = 23.746 x4.95     ความจุกระบอกสูบ        = 117.5  CC

จะเห็นได้ว่าเมื่อเพิ่มความโตของลูกสูบ หรือยัดลูกโตเข้าไป จะมีผลโดยตรงกับจำนวนความจุกระบอกสูบ จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่าซีซี. เพิ่มขึ้นจาก 98 ซีซี. ขึ้นมาเป็น 117.5 ซีซี. มีค่าความต่างกันอยู่ที่ 19.5 ซีซี.  นั่นก็คือการเพิ่มปริมาตร A หรือการยัดลูกโตนั้นเอง ซึ่งก็เป็นการเพิ่มซีซี. อีกทางหนึ่ง ก่อนหน้านี้เพิ่มระยะชัก – ยืดชักก็เป็นการเพิ่มซีซี.เช่นกัน  และยิ่งรวมการ “ยัดลูกโต” กับการ “ยืดชักยาว” เข้าด้วยกันแล้ว ซีซี.ที่เพิ่มขึ้นก็ลองคำนวณกันดูสิครับ… จะไม่ให้แรงขึ้นได้ไงครับ ในเมื่อแรงม้ามันพุ่งกระฉูดขึ้นมาปานนั้น

                                                                                  

                   แรงม้า       =  P  L   A   N   K

บทสรุป… เมื่อเราได้ทำการโมดิฟายตามทฤษฎีไปแล้วคือ L = ระยะชักหรือยืดข้อเหวี่ยงก็เพิ่ม และ A = ใส่ลูกสูบโตขึ้นก็เพิ่ม ตัวคูณเพิ่มขึ้นจากเดิม ผลรวมมันออกมาจะเห็นได้ว่าตัวเลขกำลังม้ามันเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ผลคูณของแรงม้าจะเพิ่มขึ้นมหาศาลครับ ที่มามันเป็นอย่างนี้ มันถึงแรงขึ้น ม้ามามากขึ้นไงครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *