“รู้ก่อนรื้อ” ปรับทัศนคติก่อน Modify

“อยากจะบอกว่าในรถหัวฉีดเนี่ย ใครคิดจะโมฯ ก็ทำได้นะ แต่ต้อง… ทำแล้วพอนะ ทำแล้วหยุดนะ แล้วคุณจะใช้รถได้อย่างสบายเหมือนใช้รถสแตนดาร์ดแต่เป็นรถโมฯ”
“คราบน้ำมันและกลิ่นควันไอเสีย” ในสายรถจักรยานยนต์ยุคปัจจุบันมีการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลกันอย่างเต็มตัว ไม่ว่าจะเป็นรุ่นพิกัดเล็กๆ จนถึงบิ๊กไบค์ระดับ GP จนทำให้เหล่าช่างที่เคยชินกับการจูนอัพคาร์บูเรเตอร์มานานต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ จากที่เคยใช้ไขควงปรับจูนคาร์บูฯ มาถึงตอนนี้ต้องใช้โน๊ตบุ๊คปรับจูนกล่องควบคุมแทน

แรกๆ ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีมาใช้ระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบหัวฉีดอิเลคทรอนิคนั้น ช่างระดับเซียนที่ใช้ประสาทสัมผัสในการปรับจูนแก้ไขปัญหามาตลอด ต้องกลับมาเป็นนักเรียนกันใหม่เพื่อเริ่มต้นศึกษาการทำงานของระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบหัวฉีดอิเลคทรอนิค และต้องเรียนรู้ควบคู่ไปกับเรื่องของคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งลาพังเรื่องของระบบหัวฉีดนั้นบรรดาเซียนรุ่นเก๋าพอจะทำความเข้าใจได้ไม่ยาก แต่เรื่องของเจ้าคอมพิวเตอร์ที่เป็นเรื่องใหม่จริงๆ นี่ล่ะที่บรรดาเซียนๆ ทั้งหลายต่างหนักใจกันเป็นแถว แต่ในที่สุดบรรดาเซียนโมฯ แห่งสานักต่างๆ ก็พิสูจน์ตัวเองได้ว่าคาว่า “เซียน” ที่ถูกเรียกขานนั้นไม่ใช้ได้มาเพราะโชคช่วย เพราะหลังจากได้ทำความรู้จักกับระบบของมันอย่างแท้จริงแล้วก็สามารถใช้งานมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับจูนรถในสังกัดได้ลง

ตัวเหมือนตอนที่จูนอัพคาร์บูเรเตอร์…
เซียนท่านหนึ่งเปิดใจถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นว่า… ถามว่ารถระบบหัวฉีด ทำยากไหม… มันก็ยากนะ ถึงแม้ว่าระบบเครื่องยนต์ยังเป็นแบบเดิม ซึ่งร้านทั่วๆ ไปจะรู้ว่าการโมดิฟาย  เครื่องยนต์ให้รถวิ่งแบบนี้จะต้องทำในส่วนไหน อย่างไรบ้าง แต่ที่จะมามีปัญหาก็ในเรื่องการจ่ายน้ำมัน ซึ่งเมื่อมาเป็นระบบหัวฉีดแล้วก็ จะมีเรื่องของอิเลคทรอนิคส์เข้ามาเกี่ยวข้อง ปัญหาการจูนอัพในร้านทั่วๆ ไปมีค่อนข้างเยอะ ประกอบกับตัวโปรแกรมของกล่องโมฯ ที่นำมาใช้บนท้องถนนก็ยังมีปัญหาค่อยข้างเยอะอยู่เช่นเดียวกัน เพราะว่าระบบหัวฉีดมันค่อนข้างจะไวต่อสภาวะแวดล้อม ไม่ว่าจะฝนตก อากาศหนาว แดดร้อน ช่วงเช้า ช่วงกลางวัน-กลางคืน ทั้งหมดมีความแปลผันทำให้อัตราการจ่ายน้ำมันจะไม่คงที่เหมือนในระบบคาร์บูเรเตอร์ ในการสั่งจ่ายของกล่อง ECU จะไวต่อแรงกดอากาศ อุณหภูมิอากาศ ความชื้น ทั้งหมดจะมีผลต่อการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งต้องเข้าใจว่ารถเดิมๆ จะจ่ายน้ำมันมาให้พอดีกับความต้องการของเครื่องยนต์ในทุกย่านรอบ ทีนี้เมื่อเราไปเปลี่ยนแปลงช่องทางเดินไอดี-ไอเสีย เปลี่ยนแปลงกาลังอัดเนี่ย สิ่งที่ตามมาคืออากาศมันเข้าได้เยอะขึ้น พออากาศเข้าได้เยอะขึ้นแต่น้ำมันยังจ่ายเท่าเดิม ทำให้ส่วนผสมบางลง ทีนี้ก็ต้องหาวิธีเพิ่มน้ำมันโดยเปลี่ยนมาใช้กล่องแต่ง หรือว่าจะเป็นกล่องพ่วงก็มีให้เลือกใช้ แต่ปัญหาที่ตามมาคือมันจะไม่นิ่ง คาว่าไม่นิ่งก็คือ ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ มันจะส่งผลกระทบต่อเครื่องยนต์ โดยจะมีอาการให้รับรู้ได้ เช่น ช่วงเช้าสตาร์ทติดยาก แต่กลางวันสตาร์ทปกติ หรือเวลาเร่งเครื่องมีอาการวูบวาบในบางย่านรอบ อาการเหล่านี้แสดงให้เรารู้ได้ว่าการจูน หรือกล่องที่เรานำมาใส่นั้นยังไม่เสถียรพอ หมายถึงมันยังไม่สามารถชดเชยการจ่ายน้ำมันที่บางย่านรอบได้  รถเดิมๆ เราจะสังเกตได้ว่าไม่ว่าจะฝนตก จะหนาว จะ  ร้อน กลางคืนหรือกลางวัน รถก็ยังวิ่งได้เป็นปกติ นั่นคือความสามารถในส่วนของโปรแกรมที่ผู้ผลิตได้ออกแบบมาให้สามารถชดเชยอุณหภูมิ ชดเชยอากาศ ชดเชยน้ำมันได้ คือมีช่วงให้ดิ้นได้เล็กน้อยนั้นเอง แต่ในขณะที่กล่องโมฯ ทั่วไปยังเป็นแบบโปรแกรมที่ตายตัว ไม่มีช่วงให้ดิ้นได้เหมือนในกล่องเดิม ๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *